การขออนุญาตโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียง
พระราชบัญญัติ โฆษณา โดยใช้เครื่องขยายเสียง
พระราชบัญญัติควบคุมการโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียง พ.ศ.
การควบคุมการโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียงหมายถึงการที่เราจะโฆษณาสินค้าหรือกิจการในร้านของเราโดยมีการประกาศเสียงตามรถประชาสัมพันธ์หรือโฆษณาอยู่ประจำที่หรือร้านแห่งนั้น งานที่
จะโฆษณาใช้เสียงจะมีอยู่ด้วยกัน 2 ประเภท
กิจการประเภทที่ 1 คือการโฆษณาในกิจการที่ไม่เป็นไปในทำนองการค้าขอใบอนุญาตได้คราวละไม่เกิน 15 วัน ค่าธรรมเนียมธบับละ 10 บาท กิจการประเภทนี้ก็จะมีงานขึ้นบ้านใหม่ งานทำบุญบ้าน งานไว้ครู งานแต่งงาน งานมหารสพต่างๆ
กิจการประเภที่ 2 คืการโฆษณาในกิจการที่ไม่เป็นไปในทำนองการค้าแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ
1. การโฆษณาเคลื่อนที่โดยใช้รถประชาสัมพันธ์วิ่งตามเส้นทางต่างๆ ภายในเขตเทศบาลสามารถขออนุญาตได้คราวละไม่เกิน5 วัน ค่าะรรมเนียมโฆษณาเคลื่อนที่ฉบับละ 60 บาท
2. คือการโฆษณาประจำที่โดยประชาสัมพันธ์ ณ ร้านหรือกิจการนั้นๆ สามารถขออนุญาตได้คราวละไม่เกิน 15 วัน ค่าธรรมเนียมโฆษณาประจำที่ฉบับละ 75 บาท
ห้ามอนุญาตและห้ามช้เสียงโฆษณาในระยใกล้กว่า 100 เมตร จากบริเวณสถานที่ใด สถานที่หนึ่งดังต่อไปนี้
1.โรงพยาบาล
2.วัดหรือสถานที่บำเพ็ญศาสนกิจและ
3.ทางแยกที่มีการสัญญาไปมาคับคั่งอยู่เป็นปกติ
การปฏิบัติภายหลังที่ได้รับอนุญาต
เมื่อได้รับอนุญาตให้ทำการโฆษณาแล้วให้ผู้ได้รับอนุญาตนำใบอนุญาตนั้นไปแสดงต่อนายตำรวจชั้นสัญญาบัตรดังต่อไปนี้
-โฆษณาประจำที่ให้แสดงต่อสถานีตำรวจเจ้าของท้องที่นั้นเมื่อนายตำรวจซึ่งเป็นหวหน้าในสถานีตำรวจนั้น หรือผู้รักษาการแทนได้ลงนามรับทราบในใบอนุญาตนั้นแล้วจึงทำการโโฆษณาได้
ความผิดเมื่อไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนด
1.ความผิดตาม พ.ร.บ. ควบคุมการโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียง พ.ศ.2493
โฆษณาโดยเครื่องขยายเสียงโดยไม่ขออนุญาตปรับสูงสุด 200 บาท และถูกเพิกถอนใบอนุญาต( มาตรา 9)
ผู้ใช้เสียงและผู้ควบคุมเครื่องขยายเสียงไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดในใบอนุญาตปรับสูงสุด 200 บาท (มาตรา 9)
เสียงที่โฆษณาก่อความรำคาญต้องลดเสียงตามคำสั่งพนักงาน(มาตรา 6)
2.ความผิดตาม พ.ร.บ.การสาธารณสุข พ.ศ.2535
- ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ในการลดเสียงที่ก่อความเดือดร้อนรำคาญ จำคุก 1 เดือน หรือปรับสูงสด 2,000.- หรือ ทั้งจำทั้งปรับ (มาตรา 74)
3.ความผิดตามประมวลกฏหมายอาญา
-ทำให้เกิดเสียงหรือกระทำความอื้ออึงจนทำให้ตกใจหรือเดือดร้อนปรับสูงสุด 100 บาท (มาตรา 370)
เอกสารประกอบการขอยื่น
1.สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
2.สำเนาทะเบียนบ้าน
3.ใบมอบอำนาจ สำเนาบัตรประจำตัวประชาน ผู้มอบและผู้รับมอบ(กรณีไม่สามารถมายิ่นเองได้)
4.แบบคำร้องตามแบบ ฆษ.1
5.แผนที่สังเขป
แบบฟอร์ม ฆ.ษ.1
|